" การออกแบบหูฟัง IEM ที่ลงตัวที่สุดในทุกสัดส่วน เพราะนี่คือ Final Audio A Series "
สวัสดีครับทุกท่านในวันนี้ผมเต้แห่งสยามพารากอนจะพาทุกท่านไปพบกับแบรนด์หูฟังจากญี่ปุ่น Final Audio และหูฟัง Series A3000, A4000, รุ่นท็อปสุดอย่าง A8000 ซึ่งก่อนหน้านี้มีบทความของพี่มาร์ชพารากอนได้แนะนำในรุ่น B Series พร้อมกับทำความรู้จักกับแบรนด์นี้กันไปบ้างแล้วดังนั้นผมขอเริ่มเข้าเนื้อหาเลยก็แล้วกันนะครับ
: หัวใจหลักของหูฟัง In-Ear Monitor (IEM) :
โดยปกติแล้วหลาย ๆ ท่านอาจคุ้นเคยกับหูฟังประเภท Inear หรือหูฟังมีจุกอุดหู เพียงเเต่ว่าหลาย ๆ รุ่นนั้นได้มีการปรับจูนเสียงให้เป็นไปในแต่ล่ะเเบรนด์ต้องการ ข้อดีคือให้เสียงที่ฟังสนุก ไพเราะ ข้อเสียคือไม่สามารถนำไปใช้ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับความเที่ยงตรงของเสียงได้ และด้วยเหตุนี้เองทาง Final Audio จึงได้ให้กำเนิดเป็น A Series ขึ้นมา เอาล่ะครับไม่รอช้าผมขอเริ่มเข้าเนื้อหาเลยก็แล้วกันนะครับ
: Final Audio A3000 และ A4000 :
เนื่องด้วยที่ว่ารูปร่างกล่องบรรจุภัณฑ์ของสองรุ่นนี้โดยร่วมแล้วเเทบจะเหมือนกันยังกับส่องกระจกเลย เห็นจะแตกต่างกันก็แค่มีเขียนชื่อรุ่นไว้บนกล่องว่า A3000 กับ A4000 แค่นั้นเลยครับ อ้อ... ลืมไปครับที่แตกต่างอีกหนึ่งจุดก็คือเรื่องของสีหูฟัง โดยที่ A3000 ตัวบอดี้หูฟังจะให้มาเป็นสีดำส่วน A4000 ตัวบอดี้หูฟังจะให้มาเป็นสีน้ำเงินเข้ม
ด้านหลังกล่องจะมีสเปกภายในของตัวหูฟังมาอย่างละเอียด ซึ่งก็จะมีทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อบ่งบอกเลยว่าแบรนด์หูฟังแบรนด์นี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศใด ด้านล่างยังบอกถึงอุปกรณ์ที่แถมมาให้ภายในกล่องด้วยว่ามีอะไรบ้าง
เปิดกล่องออกมาจะพบกับตัวหูฟัง แน่นอนว่าทั้ง A3000 และ A4000 ให้อุปกรณ์ของแถมมาเหมือนกันอีกด้วย
อุปกรณ์ภายในกล่องมีดังนี้
-หูฟัง Final Audio A3000/A4000
-จุกหูฟังซิลิโคน
-ซิลิโคนเกี่ยวหู
-เคสพกพา
นอกจากนี้ขั้วสายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อก็เป็นแบบมาตรฐาน 2pin ที่มีความแข็งแรงทนทานอีกทั้งยังสามารถหาสายอัปเกรดได้หลากหลาย ท่อนำเสียงหูฟังเองก็มีขนาดที่เท่ากันแน่นอนว่าจุกที่แถมให้มาก็เป็นจุกของทางแบรนด์ Final Audio เองก็เป็นจุกหูฟังคุณภาพสูงอยู่แล้ว แต่คราวนี้แกนของท่อนำเสียงจะมีการแยกสีมาให้แล้ว เท่านี้ก็จะมีจุดสังเกตให้เรามองหาตัวหูฟังซ้ายขวาได้ถนัดขึ้นแล้ว
จะสังเกตได้ว่ารูปลักษณ์บอดี้ของหูฟังแบรนด์นี้จะมีลักษณะการออกแบบที่คล้าย ๆ กันตั้งแต่ Series B ซึ่งเอาจริง ๆ ผมขอบอกได้เลยว่าหากสวมใส่อย่างพอดีแล้วจะสบายมาก ๆ นอกจากนี้ยังสามารถตัดเสียงรบกวนภายนอกได้เป็นอย่างดี และด้วยตัวบอดี้หูฟังทั้งสองรุ่นมีน้ำหนักที่เบามากช่วยให้สามารถฟังได้เป็นเวลานานอีกด้วย
เอาแล้วสิแบบนี้ผมจะหาข้อแตกต่างของสองรุ่นนี้เจอไหมนี่ เอาล่ะ ตามดูกันต่อไปครับ
: สเปกโดยละเอียดของหูฟัง A3000/A4000 :
A3000 Specifications
Product code Fl-A3DPLMB
Impedance 18Ω
Sensitivity 98dB/mW
Weight 18g
Cable length 1.2 m
A4000 Specifications
Product code Fl-A4DPLDN
Impedance 18Ω
Sensitivity 100dB/mW
Weight 18g
Cable length 1.2 m
ในส่วนของไดเวอร์ภายในทั้งสองรุ่นใช้เป็น ไดนามิกไดรเวอร์ f-Core ขนาด 6 มม. ขนาดตัวชุดไดรเวอร์ก็ยังคงเหมือนกัน แต่หลาย ๆ ท่านคงจะสังเกตเห็นแล้วไช่ไหมครับว่า ค่า Sensitivity หรือค่าความดังเสียงนั้นรุ่น A3000 อยู่ที่ 98 dB จะใช้กำลังขับมากกว่า A4000 จะอยู่ที่ 100 dB ส่วนจะมีผลในเรื่องของเสียงมากน้อยเพียงใดผมจะสรุปให้ในตอนนี้เลยครับ
: สรุปเสียง A3000 :
ผมขอเริ่มสรุปเสียงของ A3000 รุ่นน้องเล็กก่อนนะครับ หลังจากที่ทดสอบลองฟังอยู่หลายอาทิตย์ด้วยกัน ตามที่สัญญาครับผมว่าผมหาความแตกต่างของทั้งสองรุ่นได้แล้วครับ เอาเข้าจริงถึงแม้ตัวหูฟังรูปร่างหน้าตาจะเหมือนกันอย่างกับแกะ แต่น้ำเสียงที่ได้กับแตกต่างกันสิ้นเชิง
เสียงเบส : ให้ย่านเนื้อเบสที่กระชับ ลงได้ลึก เก็บตัวเร็ว มีอิมแพคชัดเจน ทำได้ดีทั้งเบสสังเคราะห์และเบสกระเดื่อง นั้นเองทำให้สามารถฟังได้หลากหลายแนว Pop, Acoustic, Jazz, Instrumenta, Hip hop, รวมไปถึง EDM เป็นเสียงเบสที่ฟังได้ไม่เบื่อเลยครับ
เสียงกลาง : เเน่นอนครับว่าทาง Final Audio โด่นเด่นและมีเอกลักษณ์มาก ๆ ในการปรับจูนเสียงกลาง เป็นเสียงร้องที่ทำได้สมูทชัดถ้อยชัดคํา เสียงนำหน้าเครื่องชิ้นดนตรีพอประมาณ
เสียงแหลม : สำหรับผมแล้วเป็นย่านเสียงปลายแหลมที่ฟังง่ายสะอาดแต่ไม่คม ทำได้ดีตามย่านเสียงที่ถูกบันทึกมา ไม่ว่าจะเป็นปลายแหลมจะเสียงของเครื่องเป่า เครื่องสาย หรือเสียงแหลมสูงของนักร้องหญิงก็ตาม
เวทีเสียง : A3000 ให้มิติเวทีเสียงที่ไม่กว้าง แต่มาทดแทนด้วยมิติด้านลึก โดยจะให้เสียงนักร้องที่อยู่ตรงกึ่งกลางเราพอดี ไม่นำหน้าเครื่องชิ้นดนตรีมากไป แต่รายละเอียดชิ้นดนตรีต่าง ๆ เก็บหัวโน้ตได้หมด
ในที่สุดผมก็ได้รู้เเล้วว่า A3000 นั้นเหมาะกับการทำงานเพลง หรือตัดต่อเสียงในการทำงานมากที่สุด เพราะให้เนื้อเสียงที่มีความเที่ยงตรงสูง หรือจะใช้เป็นมอนิเตอร์ขึ้นเวทีเองก็ยังได้
: สรุปเสียง A4000 :
เอาล่ะครับถึงตาของนายเเล้ว A4000 ข้าอยากจะรู้นักว่าเจ้านั้นมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดกับรุ่นน้องของเจ้า
เสียงเบส : มาเป็นลูกๆ ชัดเจนรวมไปถึงด้านลึกเองด้วย แรงปะทะเข้ามาที่หูแบบชัดเจน หัวโน้ตเบสต่างๆ ทำได้ดีและเป็นเสียงเบสที่ฟังสนุกมากกว่า A3000 อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกับแนวเพลง Rock
เสียงกลาง : ส่วนตัวลองทดสอบเเล้วหลายต่อหลายครั้งแล้วพบว่าถูกดันขึ้นมามากกว่า A3000 อยู่หนึ่งเก้า เสมือนกับนักร้องมาร้องต่อหน้าเราขึ้นอีกเก้า จะฟังออกทันทีเมื่อฟังจากเสียงนักร้องหญิง
เสียงแหลม : ปลายแหลมมีความสว่างไสว คมชัด ทอดตัวไปได้ไกล แต่อาจจะรู้สึกจิกๆ อยู่ในบ้างเพลง เเต่ส่วนตัวเเล้วคิดว่าทำให้เสียงฉาบกลองฟังดูมีมิติเเละสนุกขึ้นเยอะ
เวทีเสียง : กว้างขวางมากกว่า A3000 อย่างเห็นได้ชัด ช่องไฟการแบ่งวรรคแบ่งช่วงของชิ้นดนตรีก็เปิดเผยมากขึ้น แน่นอนว่าทำให้สามารถได้ยินรายละเอียดชิ้นดนตรีมากกว่าในรุ่นน้องอยู่หนึ่งช่วงตัวเลยครับ
: ความคิดเห็นส่วนตัวใน รุ่น A3000/A4000 :
เป็นที่แน่นอนแล้วครับว่าทั้งสองรุ่น ถึงแม้รูปร่างหน้าตาจะเหมือนกันในหลายๆ ด้านแต่เสียงที่ได้ออกมาแตกต่างกันอย่างชัดเจน ผมเลยขอสรุปให้ตรงนี้เลยว่า A3000 เหมาะสมแก่การทำงานมอนิเตอร์มากที่สุด ในส่วนของ A4000 ก็สามารถทำงานมอนิเตอร์ได้แต่สำหรับท่านใดจะฟังเพลงเพื่อความสนุกคิดว่า A4000 เหมาะสมมากกว่าครับ
ในรุ่นต่อมานี้จะเป็นรุ่นท็อปสุด Hiend จากทาง Final Audio นั้นคือ A8000 ซึ่งผมยินดียิ่งที่จะนำเสนอ ยังไงอย่าพึ่งเบื่อกันซะก่อนนะครับเชิญติดตามอ่านต่อด้านล่างนี้ได้เลย
: Final Audio A8000 :
"ที่สุดเเห่งเทคโนโลยีในการผลิตหูฟังจาก Final Audio จนกำเนิดมาเป็น A8000"
ข้อสังเกตสำหรับผม ในปัจจุบันเราจะเห็นหูฟังในหลาย ๆ แบรนด์ที่ใช้ไดรเวอร์ในการให้กำเนิดเสียงมาเป็นแบบ ไดนามิกไดรเวอร์ แตกต่างจากเมื่อหลายปีก่อนที่หลายแบรนด์นิยมใช้ BA (Balance Armarture) กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งแน่นอนครับว่าเสน่ห์ของไดรเวอร์แบบ BA คือ สามารถเเยกเสียงสูง กลาง ต่ำได้ตามจำนวนไดรเวอร์ที่ใส่เข้ามาบางรุ่นก็เริ่มตั้งแต่ข้างล่ะ 1 ตัว ไปจนถึงข้างล่ะ 16 ตัวก็มีให้เห็นกันมาแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถได้ยินรายละเอียดเสียงชิ้นดนตรีต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่วนข้อเสียเองก็มีเหมือนกันครับสำหรับไดรเวอร์ประเภทนี้ นั่นคือมิติเสียงย่านต่ำทำจะได้ไม่ลึกเท่าที่ควรทำ นั้นจึงทำให้ไดรเวอร์แบบไดนามิกทำเสียงมิติย่านต่ำได้ดีว่ามาก และให้อารมณ์ความเป็นธรรมชาติเสียงและมิติได้ดีกว่ามาก
เริ่มจากตัวกล่องภายนอกกันก่อนเลยนะครับ ในรุ่นท็อปนี้จะให้มีเป็นกล่องกระดาษรักโลกดีไซน์มินิมอลที่มีแค่ชื่อแบรนด์ Final Audio สีทองอยู่บริเวณกึ่งกลางกล่อง และก่อนจะไปดูหูฟังขอดูอุปกรณ์กันก่อนนะครับ
: อุปกรณ์ภายใน A8000 :
อุปกรณ์ที่ให้มาจะคล้าย ๆ กับรุ่นน้องทั้งสองรุ่น แต่จะต่างกันในส่วนขอตัวเคสกันกระแทกที่จะใช้เป็นสแตนเลสที่ช่วยเพื่มความแข็งแรงทดทานพร้อมที่จะป้องกันหูฟังเราไปทุกเมื่อ
-หูฟัง Final Audio A8000
-เคสกันกระแทก
-จุกหูฟัง
-ฟิลเตอร์แผ่นกรองฝุ่น
-คีบหนีบขั่วหูฟัง
: สเปกภายใน A8000 :
Housin Stainless
Driver Dynamic driver(Truly Pure Beryllium Diaphragm)
Connector MMCX
Cable OFC silver coated cable
Sensitivity 102dB
Impedance 16Ω
Weight 41g
เอาล่ะครับถ้าได้ดูตามสเปคแแล้วจะเห็นว่าบอดี้ของตัวหูฟังทำมาจาก Stainless ขึ้นรูปมาเป็นอย่างดี มีความเงางามพอได้สัมผัสแล้วพบว่ามีน้ำหนักพอประมาณเลยครับคือ 41 กรัม ซึ่งหลายท่านอาจจะกังวลว่าเวลาส่วมใส่ไปนาน ๆ แล้วจะทำให้เจ็บหูหรือเปล่า ตอบให้เลยครับว่าไม่เจ็บเลยครับ คงด้วยเพราะการออกแบบที่ลงตัวและถูกคำนวนมาเป็นอย่างดีแล้วนั้นจึงทำให้ไม่แตกต่างมากนักหากเทียบกับหูฟัง In-ear ในหลาย ๆ รุ่นแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะใบหูของแต่ล่ะคนด้วยนะครับ
ต่อมาจะเป็นเรื่องของไดรเวอร์ที่
แสนภูมิใจ เพราะทางแบรนด์ Final Audio เลือกใช้เป็นไดนามิกไดรเวอร์ โดยใช้วัสดุ Beryllium Diaphragm บริสุทธิ์สูงทำให้
สามารถตอบสนองความถี่ได้ต่ำที่
สุดและสูงที่สุด บวกกับการปรับจูนเสียงอย่างเชี่
ยวชาญ การนำเบริลเลียมไดอะแฟรมบริสุ
ทธิ์อย่างแท้จริงมาใช้ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นวัสดุ
ไดอะแฟรมในอุดมคติเนื่องจากมีน้ำ
หนักเบาและความเร็วเสียงสูง
อีกหนึ่งจุดที่แตกต่างไปจาก A3000 และ A4000 เลยก็คือขั้วสายเชื่อมต่อที่ใช้เป็น MMCX เคลือบเงิน OFC ความบริสุทธิ์สูง เป็นสายหูฟัง ที่พัฒนาร่วมกัน แต่เดิมออกแบบโดยและปัจจุบันผลิตโดยบริษัท Junkosha สัญชาติ ญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงในด้านการทำสายสายโคแอกเชียลที่นำสัญญาณได้เร็วที่สุด หลายท่านเองอาจจะจับจุดจับทางได้แล้วไช่ไหมครับว่าคุณภาพเสียงที่ได้จะออกมาเป็นแบบไหน หลังจากได้เห็นสเปคกันไปบ้างแล้วแต่จะเป็นไปแบบนั้นหรือเปล่าผมจะสรุปให้ฟังตอนนี้เลยครับ
: สรุปเสียง A8000 :
เอาล่ะโอเคผมขอบอกตามตรงก็ได้ครับว่า Final Audio A8000 เป็นหูฟัง IEM ไม่กี่ตัวที่ผมชอบมากถึงมากที่สุด หลังจากที่ตัวผมเองก็ได้ทดลองหูฟังมาก็หลายตัวเพื่อที่จะค้นหาเนื้อเสียงในแบบที่เราต้องการจริง ๆ เเละรุ่นนี้เองก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ ทั้งนี้ผมจะขอสรุปเสียงที่ได้ดังต่อไปนี้เลยนะครับ
เสียงเบส : ให้เนื้อเบสที่มีความนุ่มลึก มีขนาดของตัวเบสที่ไม่ใหญ่มากนัก เก็บตัวเร็วจับจังหวะได้ดีด้วยเหตุนี้เอง จึงเหมาะอย่างมากกับแนวเพลง Acoustic ส่วนตัวคิดว่าเนื้อเบสมาประมาณนี้จะเหมาะฟังกับเพลงช้ามากกว่าครับ
เสียงแหลม : เป็นเสียงแหลมที่ใส่สะอาดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยครับ แต่อาจจะจิก ๆ ไปซะหน่อยนะครับ บอกเลยครับว่าปลายแหลมที่ลากตัวไปได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ซึ่งแน่นอนครับว่าตั้งแต่ตัวบอดี้ที่ใช้วัสดุเป็น Stainless หรือการเลือกใช้สายเป็น OFC Silver ต่างก็มีผลเรื่องของเสียงแหลมทั้งสิ้น
เสียงกลาง : A8000 ปรับจูนเสียงนักร้องออกไปได้อย่างดี คือนำหน้าชิ้นดนตรีออกมาอยู่ตรงหน้าเราเลยครับ เสียงนักร้องนั้นมีเนื้อเสียงที่ชัดเจน คำร้องที่ออกมาจากเสียงของนักร้องไม่ว่าจะเป็นเสียงลมเสียงในลำคอ คือถูกถ่ายทอดออกมาให้เราได้ยินทั้งหมด
เวทีเสียง : ทำได้ดีแบบสุด ๆ ทั้งด้านกว้างและด้านลึก ระยะของเครื่องชิ้นดนตรีเสียงมีความเป็น 3 มิติ ทำให้เสียงดูโอบล้อม โดยที่ให้เสียงนักร้องอยู่ตรงกลางด้านหน้าเรา จะโดดเด่นขึ้นมากเมื่อฟังเพลงที่มีนักร้องหญิง
: สรุปส่งท้าย A3000 A4000 A8000 :
บอกได้เลยครับว่าหูฟัง Final Audio A Series ถูกปรับจูนมาให้เพื่อถ่ายทอดรายละเอียดเสียงให้ออกมาเที่ยงตรงมากที่สุด โดยเฉพาะ A8000 ที่ชอบเป็นการส่วนตัว ผมแนะนำเลยครับ ส่วนท่านใดที่สนใจทดสอบทดลองฟังก็สามารถเข้ามาฟังได้ที่ร้านมั่นคงแก็ดเจ็ทได้ทุกสาขาเลยครับ